แขนงไม้สีแดง

long-rods

อุปกรณ์    

  • แท่งไม้สีแดง 10 แท่ง ซึ่งมีพื้นที่หน้ากว้างเท่ากัน แต่ความยาวแตกต่างกันตามลำดับ ตั้งแต่ 10เซ็นติเมตรจนถึง 100 เซ็นติเมตรหรือ 1 เมตร
  • เสื่อสำหรับปูพื้น

จุดประสงค์   

  • เพื่อพัฒนาประสาทรับรู้ในการมองเห็นเกี่ยวกับมิติ
  • เพื่อพัฒนาการทำงานประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและกลไกควบคุมการเคลื่อนไหวเพิ่มเติม
  • เพื่อเตรียมความพร้อมทางอ้อมให้เด็กด้านคณิตศาสตร์ โดยการได้ประสบการณ์ในการเปรียบเทียบ การแบ่งและการเรียงลำดับ
  • เพื่อสอนให้เด็กรู้จักคำศัพท์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์

กลไกควบคุมความผิดพลาด

               ความผิดพลาดสามารถมองเห็นได้ด้วยตาอยู่แล้ว แต่สามารถใช้ความรู้สึกสัมผัสจากกล้ามเนื้อในการตรวจสอบได้ด้วย โดยการเอาแท่งไม้สีแดงที่สั้นที่สุดวางต่อที่ปลายไม้แท่งอื่นๆเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความยาวที่เพิ่มขึ้นเท่ากันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

คำศัพท์ที่ได้  

  • ยาว ยาวกว่า ยาวที่สุด ยาวเท่ากันกับ 
  • สั้น สั้นกว่า สั้นที่สุด สั้นเท่ากันกับ

ระดับอายุ   

               3 ปีขี้นไป

ข้อเสนอแนะ 1    

               กิจกรรมนี้เป็นการแนะนำแบบตัวต่อตัวบนเสื่อที่ปูกับพื้น ครูและเด็กช่วยกันขนไม้อย่างระมัดระวังไปวางคละกันไว้บนเสื่อในแนวนอนทางมุมซ้ายของเสื่อ  (ในการจับไม้นั้นให้ใช้มือทั้งสองข้างจับที่ปลายไม้แต่ละด้านแล้วถือในแนวนอนจนกระทั่งถึงไม้ สอง สามอันสุดท้ายที่ค่อยข้างยาวให้จับสองมือในแนวตั้งไว้ในระดับอก) จากนั้นครูเริ่มสร้างบันไดโดยเริ่มจากไม้ท่อนที่สั้นที่สุด หรือยาวที่สุดก่อนก็ได้ สิ่งสำคัญก็คือการเน้นให้เด็กเห็นการแสดงความรู้สึกถึงความยาวของไม้แต่ละแท่ง ทุกครั้ง โดยการใช้มือซ้ายจับปลายไม้ด้านซ้ายและมือขวาจับที่ปลายไม้ด้านขวา เพื่อให้กล้ามเนื้อมือที่จับสัมผัสรู้สึกถึงความยาวของไม้แต่ละแท่ง

แบบฝึกหัด    

               เด็กอาจเลือกที่จะทำกิจกรรมนี้

หมายเหตุ      

              ถ้าเด็กไม่สามารถทำกิจกรรมนี้ได้หรือค่อนข้างยากไปสำหรับเค้า ให้ลองเริ่มจากไม้เพียงสี่หรือห้าแท่งก่อนดังนี้

  • ไม้ที่สั้นที่สุดเพียงสี่หรือห้าแท่ง
  • ไม้ที่ยาวที่สุดเพียงสี่หรือห้าแท่ง
  • ไม้ที่เรียงลำดับความยาวต่อจากจุดใดก็ได้เพียงสี่หรือห้าแท่ง

ข้อเสนอแนะ 2   

              หลังจากที่เด็กสามารถสร้างบันไดจากแท่งไม้ทั้งสิบแท่งได้แล้ว ให้ครูลองสาธิตวิธีการนำไม้แท่งที่สั้นที่สุดมาวางต่อปลายไม้อื่นๆตามลำดับทีละแท่ง ไปตามขั้นบันได เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างไม้แต่ละแท่ง

แบบฝึกหัด    

              เด็กอาจเลือกสร้างบันไดและใช้ไม้แท่งสั้นที่สุดวางต่อปลายไม้ตามลำดับขั้นบันได

หมายเหตุ      

              ในขั้นนี้จะยังไม่สอนคำศัพท์เกี่ยวกับเมตรและเซ็นติเมตร แต่ภายภาคหน้าถ้าเด็กพร้อมสำหรับบทเรียนมาตรฐานการวัด ก็จะนำอุปกรณ์ชุดนี้ไปใช้อีกครั้ง(ดูบทที่ 8 บทเรียนเกี่ยวกับการวัด)

หมายเหตุ   

              สำหรับเด็กเล็กๆนั้น การแนะนำ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการเรียงลำดับจากไม้ที่ยาวที่สุดก่อน เพราะจะทำให้การสร้างบันไดมีไม้ที่เป็นตัวยืนตั้งต้นก่อน  และทำให้การเลือกหยิบไม้ท่อนต่อไปสะดวกขึ้น